การนำหลักสูตรไปใช้
เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร เพราะเป็นการนำอุดมการณ์
จุดหมายของหลักสูตร เนื้อหาวิชา
และประสบการณ์การเรียนรู้ที่กลั่นกรองอย่างดีแล้วไปสู่ผู้เรียน ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้ มีความสำคัญยิ่งกว่าขั้นตอนตอนใดๆทั้งหมด
เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตร
ถึงแม้หลักสูตรจะสร้างไว้ดีเพียงใดก็ตาม ยังไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
ถ้าหากว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดำเนินไปอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ดีเพียงพอ
ความล้มเหลวของหลักสูตรก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้
จึงมีความสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรไปใช้
จะต้องทำความเข้าใจกับวิธีการขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดตามความมุ่งหมายทุกประการ
ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้
เป็นขั้นตอนที่นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ ความหมายของคำว่า
การนำหลักสูตรไปใช้มีแตกต่างกันออกไป นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมาย
คำนิยามของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้
โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164)
ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยการะบวนการที่สำคัญที่สุด
คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
สันติ ธรรมบำรุง (2527.120) กล่าวว่า การนำหลักหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล
รวมถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สงัด
อุทรานันท์ (2535.260) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ว่า
เป็นขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนในห้องเรียน ได้แก่การจัดเอกสารประกอบหลักสูตร การเตรียมบุคลากร
การบริหารและบริการหลักสูตร และการนิเทศการใช้หลักสูตร
ธำรง บัวศรี
(2504.165) กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึงกระบวนการเรียนการสอนสำหรับสอนเป็นประจำทุกๆวัน
จากความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
ตามที่นักการศึกษาได้ให้ไว้ข้างต้น พอสรุปได้ว่า
การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง
การดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ
ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นดำเนินไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
นับแต่การเตรียมบุคลากร อาคาร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์
สภาพแวดล้อม และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
แนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้
ถ้าเรายอมรับว่าการนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้หลักสูตรเกิดผลต่อการใช้อย่างแท้จริงแล้ว
การนำหลักสูตรไปใช้ก็ควรจะเป็นวิธีการปฏิบัติการที่มีหลักเกณฑ์
และมีกระบวนการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ พอที่จะมั่นใจได้ว่า
หลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นนั้น จะมีโอกาสนำไปปฏิบัติจริงๆอย่างแน่นอน
นักการศึกษาต่างก็ให้ทัศนะซึ่งเป็นแนวคิดในการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้
โบแชมป์ (Beauchamp,1975.164-169)
กล่าวว่า สิ่งแรกที่ควรทำคือ
การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้เห็นผลตามเป้าหมาย คือ
ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร ผู้บริหาร
ครูใหญ่ต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จ
ธำรง บัวศรี
(2504.165-195) ได้สรุปชี้ให้เห็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการนำหลักสูตรไปใช้ไว้ว่า
ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
โครงการสอน เช่น การวางโครงการสอนแบบหน่วย( Unit
Organization of Instruction, Teaching Unit) ประเภทของหน่วยการสอนมี
2 ประเภท คือ หน่วยรายวิชา (Subject Matter Unit) และหน่วยประสบการณ์ (Experience Unit)หน่วยวิทยาการ
(Resource Unit) เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ครู เช่นเอกสารคู่มือ และแนวการปฏิบัติต่างๆ
องค์ประกอบอื่นๆ ที่ช่วยในการสอน
เช่นสถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์การเรียนการสอน
วิธีการสอน และวัดผลการศึกษา กิจกรรมร่วมหลักสูตร
การแนะแนวและการจัดและบริหารโรงเรียน เป็นต้น
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย
ตั้งแต่ผู้บริหารระดับกระทรวง กรม
กอง ผู้บริหารระดับโรงเรียน
ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์
และบุคคลอื่นๆขอบเขตและงานของการนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง
เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างรอบคอบและระมัดระวัง
หลักการที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
หลักการสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ได้ดังนี้
- มีการวางแผนและเตรียมการในการนำหลักสูตรไปใช้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรจะได้ศึกษาวิเคราะห์ ทำความเข้าใจหลักสูตรที่จะนำไปใช้ให้มีความเข้าใจตรงกันเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทำนองเดียวกันและสอดคล้องต่อเนื่องกัน
- มีคณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่จะต้องทำหน้าที่ประสานงานกันเป็นอย่างดี ในแต่ละขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้
- ดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นไปตามขั้นตอนที่วางแผนและเตรียมการไว้การนำหลักสูตรไปใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสบความสำเร็จได้ ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เอกสารหลักสูตรต่าง ตลอดจนสถานที่ต่างๆ ที่จะเป็นแหล่งให้ความรู้ประสบการณ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการจัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนได้เมื่อได้รับการร้องข
- ครูเป็นบุคลากรที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ ดังนั้นครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง ตั้งแต่การอบรมความรู้ ความเข้าใจทักษะและเจตคติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรอย่างเข้มข้น
- การนำหลักสูตรไปใช้ควรจัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้ชำนาญการพิเศษ เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครูโดยการทำหน้าที่นิเทศ ติดตามผลการนำหลักสูตรไปใช้ และควรปฏิบัติงานร่วมกับครูอย่างใกล้ชิด
- หน่วยงานและบุคลากรในฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่และเต็มความ สามารถ
- การนำหลักสูตรไปใช้สำหรับผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกหน่วยงาน จะต้องมีติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อจะได้นำข้อมูลต่างๆ มาประเมินวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาทั้งในแง่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และการวางแนวทางในการนำหลักสูตรไปใช้ ให้มีประสิทธิภาพ ดียิ่งขึ้น
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
- การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือ การตีความหมายและกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรโดยจะดำเนินการในรูปของเอกสารประกอบหลักสูตร และวัสดุอุปกรณ์การสอน เช่นโครงการสอน ประมวลการสอน คู่มือครูเป็นต้น
- การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆภายในโรงเรียนเพื่อให้หลักสูตรบรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารโรงเรียนควรสำรวจปัจจัยและสภาพต่างๆของโรงเรียนว่า เหมาะสมกับสภาพการนำหลักสูตรมาปฏิบัติหรือไม่
- การสอนซึ่งเป็นหน้าที่ของครูประจำการถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการนำหลักสูตรไปใช้ ครูต้องสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เลือกวิธีสอนให้เหมาะสม โดยผู้บริหารคอยให้ความสะดวกให้คำแนะนำและให้กำลังใจ
หน้าที่ของผู้บริหารและผู้สอนในการใช้หลักสูตร
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรในโรงเรียนมีหลายกลุ่ม
แต่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงและจะส่งผลต่อการจะทำให้บรรลุจุดหมายของหลักสูตรหรือไม่มี 2
กลุ่ม คือผู้บริหารและผู้สอน
หน้าที่ที่สำคัญของผู้บริหารและผู้สอนในการใช้หลักสูตรมีดังนี้
ผู้บริหาร
|
ผู้สอน
|
1. เป็นผู้นำในการใช้หลักสูตรและการเปลี่ยนแปลงการแก้ไขหลักสูตร
2. ศึกษาและทำความเข้าใจในหลักสูตรอย่างกระจ่าง
สามารถควบคุมดูแลและให้คำแนะนำแก่ผู้สอนให้ดำเนินการจนบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3. กำหนดมาตรการและแนวปฏิบัติในการใช้หลักสูตร
4. จัดหาวัสดุหลักสูตรที่ทันสมัยและให้มีจำนวนเพียงพอต่อจำนวนผู้สอน
5. ควบคุมดูแลติดตามผลการใช้หลักสูตรสนับสนุนส่งเสริมและนิเทศการใช้หลักสูตรและการสอน
ให้กำลังใจ และช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
6. ประเมินผลการใช้หลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรสำหรับโรงเรียนของตน
|
1. ใช้หลักสูตรตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ศึกษาและทำความเข้าใจองค์ประกอบของหลักสูตรทุกส่วน
รวมทั้งวัตถุประสงค์ของกลุ่มวิชา จุดประสงค์รายวิชาและคำอธิบายรายวิชา
และจัดการเรียนการสอนที่ได้รับมอบหมายได้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3. ปฏิบัติตามแนวทางที่โรงเรียนกำหนด
4. ใช้วัสดุหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ
5. วิเคราะห์หลักสูตร
แปลและตีความหลักสูตรสู่แนวปฏิบัติและเลือกใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสม
6. ประเมินผลการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่การประเมินผล
การใช้หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น