วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีหลักสูตร

ทฤษฎีหลักสูตร

ความหมายของทฤษฎี
            ทฤษฎี(Theory) หมายถึง หลักการที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว และกำหนดขึ้นมาเพื่อจะได้ทำหน้าที่อธิบายการกระทำหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (โชคสุวัฒน, 2534, 34)
           ราชบัณฑิตยสถาน (2542: 504) ให้ความหมายคำว่า ทฤษฎี” หมายถึง ความเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ

ความหมายของทฤษฎีหลักสูตร         
       ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum Theory) หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตรโดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ชี้นำแนวทางการพัฒนาการใช้และการประเมินผลหลักสูตรประกอบกัน  (โชคสุวัฒน, 2534, 34)
          
     
ทฤษฎีหลักสูตรชนิดต่างๆ
ทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1.   ทฤษฎีแม่บท เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการ กฎเกณฑ์ทั่วๆไป ตลอดจนโครงสร้างของหลักสูตร
2.   ทฤษฎีเนื้อหา เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหา กล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
3.   ทฤษฎีจุดประสงค์ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าจุดประสงค์นั้นๆได้อย่างไร
4.  ทฤษฎีดำเนินการ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงว่า จะทำหรือดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร (รังสยาพนธ์, 2526, 25)

หน้าที่ของทฤษฎี
1.  จุดมุงหมายของวิทยาศาสตร์ คือ การเข้าใจปรากฏการณ์ที่ศึกษา นักปรัชญายังหาคำตอบสำหรับคำถามของพวกเขา ความรู้คืออะไร ความจริงคืออะไร อะไรคือคุณค่า
2.   ทฤษฎีมาจากคำในภาษากรีกว่า theoria connoting แปลว่า การตื่นตัวของจิตใจมันเป็นชนิดของ มุมมองที่บริสุทธิ์ของความจริง ทฤษฎี อธิบายความเป็นจริง ทำให้ผู้คนตระหนักถึงโลกของพวกเขาและปฏิสัมพันธ์

ทฤษฎีหลักสูตรของ Beauchamp

ความหมายของหลักสูตร
Beauchamp George (1981:67) ให้ความหมายว่า หลักสูตร หมายถึง แผน ซึ่งประกอบด้วยประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในโรงเรียน
ทฤษฎีหลักสูตรในทัศนะของโบแชมพ์ ( George A. Beauchamp ) วิธีการพัฒนาทฤษฎีหลักสูตรของโบแชมพ์ มุ่งใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสร้างทฤษฎี สำหรับตัวทฤษฎีมุ่งเฉพาะสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรโดยตรง ซึ่งได้แก่การกำหนดองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรตั้งแต่เริ่มต้นของการจัดทำหลักสูตรจนถึงการประเมินผล หลักสูตรอันเป็นการทำงานที่ครบวงจร

องค์ประกอบของหลักสูตร
       Beauchamp George (1981) กล่าวว่า องค์ประกอบหลักสูตรมี 4 ส่วน คือ
-          ขอบข่ายเนื้อหา
-          เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เฉพาะ
-          การวางแผนการใช้หลักสูตร
-          การพิจารณาตัดสิน

โบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)

ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) 
การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล
โบแชมพ์ ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องเขียนไว้ในเอกสารหลักสูตร 4 ประการ คือ เนื้อหาสาระและวิธีการจัด จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอน และการประเมินผลซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับหลักสูตร



 ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร(Curriculum engineering) 
ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) หมายถึง กระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร กนได้มากที่สุดการใช้หลักสูตร และการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร หลักสูตรที่มีคุณภาพและสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลัก
ทฤษฏีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรให้มี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น