วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ข้อสอบกลางภาค วิชา การพัฒนาหลักสูตร : ข้อที่ 1

คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
ข้อสอบกลางภาค วิชา 462 201  การพัฒนาหลักสูตร

คำถามข้อที่ 1
การพัฒนาหลักสูตรมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่าง Model อธิบายองค์ประกอบแต่ละ Model และสรุปความเห็นกรณีที่องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตรหายไปจะเกิดอะไร


หากเราได้ศึกษาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรแล้วจะเห็นได้ว่ามีนักวิชาการหลายท่านได้เขียนแบบจำลองไว้ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์

การพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
1. การวางแผนหลักสูตร
1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตร (หรือเรียกว่า วัตถุประสงค์ฉบับร่าง) โดยการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ ต้องผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้แก่ 
ข้อมูลผู้เรียน: ผู้เรียนเป็นใคร กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นใด ผลการเรียนก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร 
ข้อมูลทางสังคม: โรงเรียนที่ผู้เรียนศึกษาอยู่เป็นอย่างไร สถานะของผู้ปกครองเป็นอย่างไร  ข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา: เนื้อหาสาระที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนนั้น ต้องมีความสอดคล้องกับระดับชั้นของนักเรียน หากนักเรียนโตขึ้น ก็ต้องออกแบบเนื้อหาให้มีความซับซ้อนมากขึ้น
1.2 กำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตร โดยผ่านกระบวนการกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษา และจิตวิทยาการเรียนรู้

2. การออกแบบหลักสูตร
2.1 การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้เป็นขั้นตอนสำคัญมาก เพราะเป็นการวางแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน เราต้องคำนึงถึงหลักสำคัญหลายประการ เพื่อประโยชน์สูงสูดของนักเรียน อันได้แก่ ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (3Rs+7Cs) โดยก่อนหน้านี้การศึกษาของเรายึดหลัก 3Rs คือ เน้นการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียน อ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น และต่อมาจึงได้เพิ่มเติมรวมหลัก 7Cs ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เข้าด้วยกัน เช่น Critical Thinking & Problem solving  คือ ทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการคิดแก้ปัญหา  Creativity & Innovation คือ ทักษะที่เมื่อคุณคิดวิเคราะห์แล้ว คุณต้องสร้างสรรค์ได้ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้  Cross-Cultural understanding คือ ทักษะที่เน้นความเข้าใจในกลุ่มคนในหลากหลายชาติพันธ์ เพราะเราเป็นสังคมโลก เป็นต้น อีกทั้งควรเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับ World Class Education มุ่งเน้นให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติ  พลโลก ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนด้านต่างๆเช่น
มีความเป็นเลิศทางวิชาการ (Smart) สื่อสารมากกว่า 2 ภาษา (Communication) ล้ำหน้าทางความคิด (Thinker) เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในการเลือกประสบการณ์การเรียนรู้นี้ จะต้องเลือกให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ในขั้นวางแผนหลักสูตรด้วย 
2.2 การจัดการประสบการณ์เรียนรู้
เป็นการนำการออกแบบการเรียนการสอนที่วางไว้ไปใช้จริงในห้องเรียน 

3. การประเมินผลหลักสูตร


ความเห็นกรณีที่องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตรหายไป
ขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรในแต่ละขั้นมีความสำคัญ และมีความสัมพันธ์กันทุกขั้นตอน ดังนั้นหากขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งในการพัฒนาหลักสูตรหายไป ก็จะเกิดผลกระทบทั้งหลักสูตร ส่งผลให้หลักสูตรไม่มีประสิทธิภาพ 
สภาพโรงเรียนแต่ละแห่งมีลักษณะไม่เหมือนกัน บางโรงเรียนมีความพร้อมทางการศึกษาทุกด้าน แต่บางโรงเรียนขาดแคลนปัจจัยในการศึกษา เช่น ขาดแคลนครู ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียน หากในโรงเรียนนั้นๆ ไม่มีการวางแผนหลักสูตร การออกแบบการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้น ก็จะเป็นแบบไร้ทิศทาง ไม่รู้ว่าที่สอนไป นักเรียนจะเข้าใจจริงหรือไม่ ไม่รู้ว่าที่สอนไปจะตรงกับการนำไปใช้ต่อยอดขอบนักเรียนได้หรือไม่  สุดท้ายแล้วการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนจึงถูกจำกัดไว้ เพียงเพราะไม่มีการวางแผนให้ตรงกับสภาพที่แท้จริงภายในโรงเรียน
การออกแบบหลักสูตรก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน หากผู้สอนไม่ได้ออกแบบหลักสูตร ผู้สอนก็ไม่สามารถจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง หรือเป็นลำดับขั้นตอน เพราะการที่เราจะสอนนักเรียน ไม่ใช่แค่นึกเรื่องที่จะสอนตามใจตัวเอง แล้วไปสอนได้เลย แต่ต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ เนื้อหาสาระ ประสบการณ์เรียนการสอน การประเมิน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบอีกด้วย ซึ่งหากเรามองข้าม ขั้นตอนนี้จะทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพต่อตัวผู้เรียนเลย
การนำหลักสูตรไปใช้ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของขั้นตอนการจัดหลักสูตร แน่นอนว่าหากเราวางแผน และออกแบบหลักสูตรแล้ว ไม่มีการนำไปใช้ เราจะไม่สามารถทราบได้เลยว่าหลักสูตรที่เราได้เขียนขึ้นมีประสิทธิภาพมากเพียงใด เช่น  การจัดลำดับการเรียนรู้จากสิ่งที่ง่าย ไปยาก จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ไปเป็นนามธรรม ความต่อเนื่องในด้านต่างๆ ทั้งเนื้อหา สาระ ความสอดคล้องเชื่อมโยงของตัวผู้เรียน เป็นต้นซึ่งหากเรามีการพบเจอปัญหาก่อน เราจะได้นำปัญหานั้นมาแก้ไขหลักสูตรของเราได้ทันท่วงที ก่อนการนำไปใช้ในครั้งต่อๆไป แต่ถ้าเราไม่ลองนำไปใช้ก่อน เมื่อเจอสถานการณ์จริงปัญหาเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นนี้ อาจรวมกันเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนได้ 
   และสุดท้ายการประเมินหลักสูตร เมื่อเรานำหลักสูตรลองใช้แล้ว เราก็ควรมีการประเมิน ทั้งประเมินชิ้นงาน ภาระงาน ประเมินพฤติกรรมผู้เรียนจากการสังเกต เป็นต้น เพื่อดูว่า ผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ใด จะได้นำไปปรับปรุงได้ถูกต้อง แต่ถ้าเราไม่มีการประเมิน เราจะไม่สามารถบอกได้เลยว่า เราต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง นักเรียนก็จะไม่ได้รับการพัฒนาอย่างตรงจุด ทำให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้ไม่เต็มที่ ต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น