วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
นอกจากนั้นยังได้มีการปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่เน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาที่มีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของตนเอง ผลการวิจัยและประเมินผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
 ในช่วงระยะเวลา 6ปีที่ผ่านมา พบว่า มีจุดดีหลายประการ คือ ส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม อย่างไรก็ตามพบว่าหลักสูตรบางส่วนยังมีปัญหาและความไม่ชัดเจนบางประการที่ทำให้การนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติที่ไม่สะท้องมาตรฐานการเรียนรู้  
            ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้พัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้

            กำหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้
1.      ภาษาไทย
2.      คณิตศาสตร์
3.      วิทยาศาสตร์
4.      สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5.      สุขศึกษาและพลศึกษา
6.      ศิลปะ
7.      การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8.      ภาษาต่างประเทศ

มาตรฐานการเรียนรู้

            เป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน    มาตรฐานการเรียนรู้จะระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้  ปฏิบัติได้  มีคุณธรรมจริยธรรม  และค่านิยมเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการเรียนรู้
มี 8 กลุ่มสาระ  คือ  ภาษาไทย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  สุขศึกษาและพละศึกษา  ศิลปะ  การงานและเทคโนโลยี  ภาษาต่างประเทศ  มาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่า  ต้องการอะไร  สอนอย่างไร  ประเมินอย่างไร

ตัวชี้วัด

            ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้  ปฏิบัติได้  รวมทั้งลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น  ตัวชี้วัดนำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วยการเรียนรู้  การจัดการสอน  เป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับวัดผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน  ตัวชี้วัดมี 2 อย่างคือ  ตัวชี้วัดชั้นปี  และตัวชี้วัดช่วงชั้น
            ตัวชี้วัดชั้นปีใช้กับ ป.1–ม.3   (เป็นเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปี)
ตัวชี้วัดช่วงชั้นใช้กับ ม.4- ม.(เป็นเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนเฉพาะในระดับม. ปลาย)

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546

แนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัย
    
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546 พัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยแนวคิดต่อไปนี้ 
    1.      แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก   พัฒนาการของมนุษย์เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวมนุษย์   เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิต   ซึ่งครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  โดยที่พัฒนาการด้านร่ากาย  อารมณ์  จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา  จะมีความสัมพันธ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอนไปพร้อมทุกด้านตามวัยและวุฒิภาวะ   เมื่อกล่าวถึงพัฒนาการเด็กปฐมวัยจะบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัย  เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงอายุต่ำกว่า 6 ปี
พัฒนาการแต่ละด้านมีทฤษฏีเฉพาะอธิบายไว้และสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาเด็ก  อาทิ ทฤษฏีพัฒนาการด้านร่างกายที่อธิบายการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กว่าลักษณะต่อเนื่อง เป็นลำดับขั้น   เด็กจะพัฒนาถึงขั้นใดจะต้องเกิดวุฒิภาวะของความสามารถขั้นนั้นก่อน  หรือทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่อธิบายว่าเด็กเกิดมาพร้อมความสามารถในการเรียนรู้ซึ่งจะพัฒนาขึ้นตามอายุ  ประสบการณ์   ค่านิยมทางสังคม  และสิ่งแวดล้อม  หรือทฤษฏีพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่อธิบายว่า   เด็กจะพัฒนาได้ดีถ้าในแต่ละช่วงอายุเด็กได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ตนพอใจ   ได้รับความรัก   ความอบอุ่นอย่างเพียงพอจากผู้ใกล้ชิด  มีโอกาสช่วยตนเอง  ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและมีอิสระที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ตนอยากรู้รอบๆตนเอง  ดังนั้น   แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการเด็กจึงเสมือนหนึ่งแนวทางให้พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กได้เข้าใจธรรมชาติหรือความสามารถของเด็ก สามารถอบรมเลี้ยงดูและจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างของแต่ละบุคคลในอันที่จะส่งเสริมให้เด็กพัฒนาได้ตามศักยภาพจนบรรลุผลตามเป้าหมายที่ต้องการได้ชัดเจนขึ้น  การจัดทำหลักสูตรจึงยึดแนวคิดในการให้ความสำคัญกับความสามารถตามวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก  โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางของการจัดการศึกษา  (Child Center)
      2.      แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้     การเรียนรู้ของมนุษย์มีผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับในชีวิตประจำวันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กขึ้นจากกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง  มีโอกาสคิดริเริ่มตามความต้องการและความสนใจของตนเอง รวมทั้งอยู่ในบรรยากาศที่เป็นอิสระ อบอุ่น  ปลอดภัย  ดังนั้น  การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ของเด็กให้เป็นไปตามศักยภาพที่มีอยู่นอกจากนี้การเรียนรู้ยังเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในระดับที่สูงขึ้น โดยที่คนเราเรียนรู้มาตั้งแต่เกิดตามธรรมชาติก่อนที่จะเข้ามาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย การจัดทำหลักสูตรจึงยึดแนวคิดที่สนับสนุนให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์จริงด้วยตัวเด็กเอง   ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอิสระ    เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมให้เหมาะกับระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
   3.      แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก  การเล่นถือเป็นกิจกรรมีที่สำคัญในชีวิตของเด็กทุกคน   เด็กจะรู้สึกมีความสุข   สนุกสนาน   เพลิดเพลิน   ได้สังเกต  สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวมีโอกาสทำการทดลอง  สร้างสรรค์  คิดแก้ปัญหาและค้นพบความเป็นจริงของโลกภายนอกด้วยตนเอง  การเล่นจะมีอิทธิผลและมีผลดีต่อการเจริญเติบโต   ช่วยพัฒนาร่างกาย  อารมณ์   จิตใจ   สังคมและสติปัญญา  ขณะเล่นเด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย  ได้ใช้ประสาทสัมผัสและการรับรู้ ผ่อนคลายอารมณ์ตึงเครียด  แสดงออกถึงความเป็นตนเองและเรียนรู้ความรู้สึกของผู้อื่น  การเล่นจึงเป็นเสมือนสื่อกลางให้เด็กสร้างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว  เรียนรู้ความเป็นอยู่ของผู้อื่น   สร้างความสัมพันธ์อยู่ร่วมกับผู้อื่นและกับธรรมชาติรอบตัว  ดังนั้นการจัดทำหลักสูตรจึงถือว่าการเล่น” อย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการประสบการณ์ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
     4.      แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคม    บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่หรือแวดล้อมตัวเด็ก  ทำให้เด็กแต่ละคนเติบโตขึ้นมามีคุณลักษณะที่แตกต่างกันไป  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฉบับนี้ถือว่าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าวัฒนธรรมและสังคมที่แวดล้อมตัวเด็กมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้  การพัฒนาศักยภาพ   และการพัฒนาการของเด็กแต่ละคน  ผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องให้ความสำคัญและเรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิต  ครอบครัว  และชุมชน  ตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเด็กที่ตนรับผิดชอบ  เพื่อช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม    เกิดการเรียนรู้และมีความภูมิใจในสังคม-วัฒนธรรมที่เด็ดอาศัยอยู่และสามารถยอมรับผู้อื่นที่มาจากพื้นฐานเหมือนหรือต่างจากตนได้อย่างราบรื่น  มีความสุข

โครงสร้างของหลักสูตรการศีกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546   

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย  ได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตร  ดังแสดง ดังตาราง
ตารางโครงสร้างของหลักสูตรการศีกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546   
โครงสร้างของหลักสูตรการศีกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546     ช่วงอาย อายุ  3-5  ปี

โครงสร้างของหลักสูตร
ในการจัดหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรไว้ดังนี้

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
ช่วงอายุ
อายุ 3 - 5 ปี


สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ
สาระที่ควรเรียนรู้
  • ด้านร่างกาย
  • ด้านอารมณ์และจิตใจ
  • ด้านสังคม
  • ด้านสติปัญญา
  • เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  • เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
  • ธรรมชาติรอบตัว
  • สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
ระยะเวลาเรียน
ปี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น