วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ผู้จัดทำ



รวบรวมข้อมูลโดย

นางสาวศรัญญา   คงด้วง 
รหัสนักศึกษา  06550052
นักศึกษาชั้นปีที่ 3
วิชาเอกภาษาอังกฤษ  คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์



ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร

ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร

ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร

ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตรคือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ที่เป็นปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ มีดังนี้
  1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
  2. ขาดการประสานงานหน้าที่ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
  3. ผู้บริหารระดับต่างๆเห็นว่าหลักสูตรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ
  4. ปัญหาการไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนของครูตามแนวทางของหลักสูตร
  5. ปัญหาการเผยแพร่หลักสูตร การสื่อสารทำความเข้าใจในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่

แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร

รายงานการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1940 และ 1950 มุ่งศึกษา ตัวแปรทำนานจากคุณสมบัติของครู มีความเชื่อว่าครูที่มีคุณสมบัติมีแนวโน้มที่จะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
  1. เสียง
  2. รูปร่างหน้าตา
  3. ความมั่นคงในอารมณ์
  4. ความน่าเชื่อถือ
  5. ความอบอุ่น
  6. ความกระตือรือร้น

                ต่อมาผลการศึกษาวิจัยความมีประสิทธิภาพของครูในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ได้ข้อสรุปและเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพด้วย การนิเทศแบบคลินิก เทคนิควิธีสังเกตการณ์สอนชั้นเรียน เป็นต้น
                ต่อมาในทศวรรษ 1980 เมเดอลีน ฮันเตอร์ และคณะมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอใช้หลักทฤษฎีเป็นฐานในการเรียนการสอนสรุปได้ดังนี้ 1) การสอนมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม  2) การอนุมานจากความคิดในด้านการเรียนรู้ เช่น แรงจูงใจ ความทรงจำ การถ่ายโอนความรู้ เป็นต้นและผลการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 การเปลี่ยนแปลงทัศนะการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้ด้วยปัญญา สถานศึกษาใดที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการประเมินที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาวิชาชีพการสอนจึงต้องเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอนซึ่งสะท้อนสิ่งที่ครูควรรู้ ในประเทศไทยหน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพครูที่เรียกว่าคุรุสภาได้เสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความรู้สมรรถนะความสามารถในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตรอาจพิจารณาได้จากผลการศึกษาวิจัย และข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆ ที่นำมาใช้การพัฒนาหลักสูตร

ออนสไตน์ได้สรุปไว้ว่าแนวโน้มของหลักสูตรมีดังนี้
  1. การศึกษาในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ ความเจริญก้าวหน้าของวีดิทัศน์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนได้ วีดิโอเทป คาสเสท และดิสค์สามารถนำมาสอนได้ทั้งในห้องเรียน ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้และที่บ้านของนักเรียน วีดิโอทัศน์มีความสะดวกที่นำมาเรียนได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยไม่ให้พลาดบทเรียนไปได้ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถที่จะพิมพ์วีดิทัศน์หรือภาพจากจอในรูปของภาพถ่าย ตาราง กราฟ หรือ รูปภาพในแบบต่างๆลงในกระดาษสำหรับศึกษาต่อได้                 ความรู้ในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์นี้ยังสามารถจัดเก็บไว้ในสถานที่ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านระบบเครือข่าย ใครๆก็สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและสามารถใช้ประโยชน์ได้
  2. การรู้ใช้เทคโนโลยี โรงเรียนปัจจุบันเห็นความสำคัญในวิวัฒนาการใช้เทคโนโลยี จึงได้ให้การศึกษากับบุคลากรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อีเล็กทรอนิกส์ เลเซอร์และหุ่นยนต์ การเรียนรู้คอมพิวเตอร์ เป็นทักษะพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากทักษะการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นหรือที่รู้จักกันว่า 3Rs
  3. การเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวโน้มการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นความจำเป็นกับสังคมสมัยใหม่อันเป็นผลสืบเนื่องจากความรู้ที่มีมากมาย การเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจที่มีผลต่อประชาชนในการประกอบอาชีพที่ปรับเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาใหม่ที่มีผลต่อเป้าหมายของบุคคลและสังคม การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตไม่ใช่เป็นเพียงการศึกษาในโรงเรียนเท่านั้น การศึกษาผู้ใหญ่จึงถูกคาดหวังเพิ่มขึ้นในปีคริสต์ศตวรรษที่ 1990s
  4. การศึกษานานาชาติ สังคมอเมริกันถือว่าได้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาได้มาจากประเทศต่างๆ และได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ หมู่บ้านโลก(global village) กล่าวถึงมาตรฐานของการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจของชาติ(อเมริกา)มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในที่อื่นๆของโลก
  5. สิ่งแวดล้อมศึกษา ผลจากปัญหาต่างๆนำไปสู่ความต้องการความรู้และโปรแกรมใหม่ในสาขาวิชานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมศึกษา ถึงแม้ว่าเดิมที่มีวิชาที่เกี่ยวข้องคือธรณีวิทยา ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ แต่ความต้องการความรู้ที่มีความหมายและมีความสัมพันธ์กับการแก้ปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ในยามคับขันหรือช่วงเวลาเร่งด่วน
  6. การศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ ได้แก่โรงไฟฟ้า การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การบำบัดด้วยการฉายรังสี ความรู้เรื่องหลังงานนิวเคลียร์มีความจำเป็นว่าพลังงานดังกล่าวนี้มีผลกระทบต่ออากาศ อาหารอย่างไรกรณีที่มีการรั่วไหลจะมีผลกระทบในขอบเขตห่างไกลเพียงใด และความเข็มข้นของรังสีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ที่อยู่ใกล้และไกลออกไปนับพันไมล์ ดังนั้นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรโลกศึกษา
  7. สุขศึกษาและการดูแลสุขภาพกาย แนวโน้มเกี่ยวกับสุขภาพของประชากรชาวอเมริกันจะต้องได้รับความรู้จากหลักสูตรใหม่ๆ ตัวอย่างที่จัดเจนคือ นักการศึกษานำประเด็นเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่องที่รู้กันในชื่อว่า AIDS นำมาให้ความรู้กับผู้เรียน บรรจุเป็นเรื่องหนึ่งในหลักสูตร
  8. การศึกษาต่างด้าว สังคมอเมริกันหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีชาวต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก นัยสำคัญของคนต่างด้าวจำนวนมาก มาจากครอบครัวที่เรียกว่า ยากจน เด็กที่มาจากประเทศต่างๆจะถูกตีตราว่า ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้คนต่างด้าวที่เข้ามาใหม่นักการศึกษาให้คำแนะนำว่าโรงเรียนควรได้จัดหลักสูตรสองภาษา หลักสูตรพหุวัฒนธรรมจะช่วยให้เด็กต่างด้าวได้เรียนรู้และอยู่ในสังคมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น
  9. ภูมิสาสตร์ย้อนกลับ การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นผลมาจากการตีพิมพ์หนังสือชื่อ Nation at Risk ในปี ค.ศ.1983 เด็กอเมริกันจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รวมถึงภูมิศาสตร์พื้นฐาน มีการทบทวนสาระสำคัญทางภูมศาสตร์ อาทิเรื่อง back to basic, การเรียนรู้วัฒนธรรม นิเวศวิทยาศึกษา และโลกศึกษา เรื่องราวต่างๆที่ศึกษาเล่าเรียนจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้รู้จักบทบาทของตนเองเพิ่มยิ่งขึ้น
  10. การศึกษาช่วงเกรดกลาง ผู้เรียนที่อายุระหว่าง 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงความเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว การศึกษาที่จัดให้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ก่อนจะเป็นวัยรุ่น และวัยรุ่นตอนต้น เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนมัธยม โรงเรียนเกรดกลางมุ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สังคมหรือสังคมประกิต ไม่เน้นวิชาการ แต่ให้ความสำคัญกับ intramural sport แต่ไม่เน้น interscholastic sport ถึงว่าโรงเรียนเกรดกลางจะมีอยู่โดยทั่วไป แต่หลักสูตรใหม่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพัฒนาขึ้น การพัฒนาหลักครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนโปรแกรมการพัฒนาครูจะต้องมีความแตกต่างจากครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในอนาคตสถาบันการผลิตครูจะต้องมุ่งพัฒนาความรู้ ทักษะที่จำเป็นสำหรับการสอนโรงเรียนเกรดกลาง
  11. การศึกษาสำคัญผู้สูงอายุ สังคมปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักการศึกษามีความเชื่อว่าโรงเรียนจะต้องสอนให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาและความคาดหวังของผู้สูงอายุ และช่วยให้มีความรักต่อผู้สูงอายุ(ทั้งพ่อแม่และปู่ย่าตายาย)            ในโรงเรียนจะต้องประสมประสานผู้สูงอายุทั้งผู้ที่มีความประสงค์จะเกษียณอายุและผู้เกษียณอายุจากงานประจำมาช่วยงานในโรงเรียนในรูปแบบ อาสาสมัคร ผู้ช่วยสอนและแหล่งทรัพยากรบุคคลในการเรียนรู้
  12. ธุรกิจการศึกษา โรงเรียนหรือสถานศึกษารูปแบบต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในรูปแบบของเอกชนและหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ อาทิ สถานเลี้ยงเด็ก ศูนย์รับเลี้ยงเด็กช่วงกลางวันและช่วงหลังเลิกเรียน ศูนย์กีฬาและโคชเอกชน ศูนย์ติวเตอร์แฟรนไชส์ วิทยาลัยเอกชนเพื่อให้บริการแนะแนว (ในการเลือกมหาวิทยาลัย) สถาบันติวเตอร์สอบ SAT และการทดสอบเพื่อขอรับในรับรองประกอบวิชาชีพ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการศึกษาเข้าสู่ตลาดการค้าที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการศึกษาจากผู้เรียนโดยตรง
  13. การศึกษาเพื่ออนาคต จากงานเขียนของทอฟเลอร์ ที่กล่าวถึงอนาคตว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่สามารถที่กำหนดขอบข่ายของการเปลี่ยนแปลงได้เลยนั้น จึงนำมาเป็นหลักการของความมุ่งหมายการศึกษา ที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อที่ผู้เรียนแต่ละคนสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่อง            แนวทางหนึ่งในการเตรียมตัวผู้เรียนในอนาคตก็คือ ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โปรแกรมหรือรายวิชาใหม่ จะถูกเรียกว่า การศึกษาเล่าเรียนเพื่ออนาคต จะเริ่มในระดับอุดมศึกษา และมัธยมศึกษาในโอกาสต่อไป สาระสำคัญของการศึกษาดังกล่าวนี้พิจารณาจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสถานการณ์ในสังคมโดยไม่มีการแบ่งแยก แต่เป็นทั้งสององค์ประกอบที่ช่วยในการตัดใจในอนาคต โดยทั่วไปการมองอนาคตไม่ใช่ภารกิจที่เล็กๆ แต่เป็นการนำเสนออนาคตที่มีจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยปกติทั่วไปที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และนำไปใช้โดยปรับให้เหมาะสมกับตนเองในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปงอย่างรวดเร็ว

หลักสูตรต้องวางแผนเพื่อการบรรลุทักษะในศตวรรษที่ 21

                ในปี 1983 สมาคมการพัฒนาหลักสูตรและการนิเทศ (Association for Supervision and curriculum development : ASCD)ได้เผยแพร่บทความวิจัย ของ Benjamin I. Troutman and Robert D.Palombo เรื่อง Identifying Futures Trends in Curriculum Planning โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 36 คนจากโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ข้อมูลที่ได้สรุปได้ว่า ในอนาคตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเป็นตัวชี้การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร อันเป็นผลจาก การขยายความรู้ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และความรู้มีความเป็นศาสตร์เฉพาะการเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการศึกษาผลต่อหลักสูตรใน 3 ประเด็น คือความเป็นความรู้ที่ร่วมกันของวิทยาการที่เจริญก้าวหน้า

  1. ·       ทักษะพื้นฐานทางวิชาการ (Basic Academic Skills) จะต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับทักษะการสื่อสาร คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะหลักสูตรอาชีวศึกษา
    ·       คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ (Computes and Other Information Technologies) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆมีรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันแล้วอุปมาดั่งเช่นเป็นพาหนะขับเคลื่อนการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกคน การพัฒนาแผนสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในระบบโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ตั้งแต่อนุบาลถึงเกรดสิบสอง                                                                                                                            
    ·       ความยืดหยุ่นของหลักสูตร (Curriculum Flexibility)ให้โอกาสอันยิ่งใหญ่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์และรวดเร็วจากหลักสูตร สำหรับอนุบาลถึงเกรดสิบสอง
    ·       การทบทวนหลักสูตร (Curriculum Revision) พัฒนาแผนปฏิบัติการที่แน่ใจว่าสามารถดำเนินการต่อไปได้ หลักสูตรได้รับการทบทวนและมีการประเมินอย่างเป็นระบบ
    ·       ความเป็นประชาธิปไตย (Democratic Ideals)ทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
    ·       โปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (Early Childhood Programs) ขยายโปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (เด็กก่อนอนุบาล)ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้                                                                                                                  7 การมองอนาคต (Futures Perspective) การรวมขอบเขตสาระเป็นหลักสูตรเดียวโดยสิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นประเด็นสะท้อนและอธิบายประเด็นร่วมสมัย แนวโน้มอนาคต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจุบันกับเหตุการณ์ที่ผ่านไปและทางเลือกในอนาคต
    ·       สัมพันธภาพระดับสากล (Global Interrelationships)ให้ความสำคัญกับมุมมองของความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม-ชาติพันธุ์ของมนุษย์ที่หลักสูตรต้องมีความหลากหลาย
    ·       การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ขยายโอกาสสำหรับสมาชิกของชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนที่สนใจเรียนรู้ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    ·       สื่อมวลชน (Mass Media) ให้ความสำคัญกับทักษะในการวิเคราะห์วิจารณ์ การฟัง และ การดูที่เกี่ยวข้องกับการแปลความหมายจากสื่อ
    ·       การเติมเต็มบุคลิกภาพ (Personal Fulfillment) โรงเรียนเป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่ที่จะสร้างความคิดต่อตนเองเชิงบวก และพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล                                                                                                                         
    ·       การประยุกต์กระบวนการ (Process Approach)หลักสูตรมุ่งที่การแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะการนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า
    ·       การพัฒนาทีมงาน (Staff Development ) เพิ่มโอกาสให้พัฒนาทีมงาน โดยเฉพาะเรื่องกี่ยวกับเทคโนโลยี
    ·       ใช้ชุมชน (Use of Community) เพิ่มบทบาทของผู้ปกครองและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนในการจัดโปรแกรมการศึกษาเชื่อมโยงการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับประสบการณ์ในชุมชน
    ·       การอาชีวะและอาชีพศึกษา (Vocational and Career Education) แน่ใจว่าการศึกษาอาชีวและอาชีพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ในการทำงานและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน

สรุป


      ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรพิจารณาได้จากข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่ถูกรวบรวมวิเคราะห์เชื่อมโยงเป็นชุดของจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรและนำไปออกแบบหลักสูตร โดยการอธิบายเหตุผลการได้มาของสาระความรู้ในหลักสูตร ที่มีเหตุผลประอบหลักวิชาโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆและนักพัฒนาหลักสูตรนำมากำหนดเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน กำหนดสาระเนื้อหาและผลการเรียนรู้ ข้อมูลต่างๆเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้อธิบายแนวโน้มของหลักสูตรได้

ขั้นตอน หลักการ และข้อพึงระลึกในการประเมินผลหลักสูตร

ขั้นตอนของการประเมินผลหลักสูตร

      เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Planning Curriculum  for Modern  School  ว่า การประเมินผลหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องอาศัยเทคนิคต่างๆ มาประกอบการประเมินผลหลักสูตร  ขั้นตอนการประเมินผลหลักสูตรมี  5  ประการ คือ
  1.  ประเมินผลจุดมุ่งหมายในระดับต่างๆ ได้แก่ จุดมุ่งหมายทั่วไปของหลักสูตร  จุดมุ่งหมายเฉพาะวิชา  จุดมุ่งหมายในการสอน  เพื่อดูว่าจุดมุ่งหมายเหล่านี้เหมาะสมสอดคล้องกับตัวผู้เรียนและสภาพสิ่งแวดล้อมหรือไม่เพียงใด  ภาษาที่ใช้ยุ่งยากแก่การสื่อสาร  และการกำหนดจุดมุ่งหมายไว้สูงเกินไปยากแก่การปฏิบัติหรือไม่
  2. ประเมินผลโครงการการศึกษาของโรงเรียนทั้งหมด  ทั้งนี้เป็นการประเมินผลโครงการต่างๆ ที่จะช่วยให้หลักสูตรบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เช่น  การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรใหม่  การดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียน  การจัดสรรงบประมาณ  การแนะแนว  ห้องสมุด  โรงฝึกงาน  การดำเนินงานของโครงการต่างๆ ได้กระทำไปมากน้อยแค่ไหน  และโครงการที่ได้กระทำไปมีประสิทธิภาพหรือไม่
  3. ประเมินผลการเลือกเนื้อหาสาระของวิชา  การเลือกและการจัดประสบการณ์การเรียนและสื่อการเรียนว่าได้จัดและดำเนินไปเหมาะสมมากน้อยเพียงใด และการจัดประสบการณ์การเรียนได้สัดส่วนกับครบทุกด้านและมีความเหมาะสมหรือไม่
  4. ประเมินผลการสอน  การประเมินผลขั้นนี้  ครูเป็นผู้ที่มีบทบาทมากในการนำหลักสูตรมาปรับใช้ในห้องเรียน  การประเมินผลระดับนี้  ถ้าเพื่อดูว่าการสอนของครูดำเนินไปโดยยึดถือหลักสูตรเป็นหลักหรือไม่  การสอนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปตามจุดหมายของหลักสูตรหรือไม่  เพราะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนก็คือ  ความสำเร็จในการสอนของครูเพื่อดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
  5. ประเมินผลโครงการของหลักสูตร  ถึงแม้ว่าการประเมินผลแต่ละโครงการได้วางแผนและขั้นตอนของการประเมินผลไว้อย่างดีแล้วก็ตาม  แต่การดำเนินงานอาจมีข้อผิดพลาดได้  ซึ่งจะเป็นผลทำให้การประเมินผลเพื่อสรุปผลของหลักสูตรผิดพลาดไปได้  ฉะนั้นจึงต้องมีการประเมินผลโครงการเพื่อตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง

หลักในการประเมินผลหลักสูตร
  1. ต้องปฏิบัติสืบเนื่องสม่ำเสมอตลอดเวลา
  2. ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า  จะประเมินอะไรให้แน่นอน
  3. การหาข้อมูล เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประเมินผลหลักสูตร
  4. ควรพิจารณาข้อมูลที่จะนำมากำหนดเกณฑ์หรือกำหนดเครื่องมือในการประเมินผลอย่างรอบคอบ
  5. การวิเคราะห์ผลการประเมิน ต้องทำอย่างระมัดระวัง  โดยให้มีความเที่ยงตรงเพียงพอ เพื่อนำผลวิเคราะห์เสนอกรรมการพิจารณา
  6. ควรพิจารณาผลการประเมินผลหลักสูตรนี้  เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้เหมาะสมต่อไป

แนวทางการประเมินผลมีอะไรบ้าง

แนวทางของการประเมินผล มีประเด็นที่น่าศึกษาอยู่   10  ประเด็นด้วยกัน และเราจะต้องใช้วิธีการประเมินต่างๆ กันไปแต่ละประเด็น  ประเด็นทั้ง  10  ที่ต้องศึกษา คือ
  1. จุดหมาย  หลักการ  ของหลักสูตร  คือดูว่าหลักการที่บัญญัติไว้เวลานำไปสู่ภาคปฏิบัติเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด  เช่น  หลักการเกี่ยวกับการถ่ายโอนผลการเรียน  หลักการให้เด็กเลือกเรียนวิชาเลือกตามอัธยาศัย  หลักการจัดโครงการเรียนให้มีวิชาเลือกหลายวิชา         สิ่งเหล่านี้ต้องนำจุดหมายและหลักการมาเป็นแม่บท  และดูว่าโรงเรียนทำอะไรบ้าง  ทำได้ตามนี้หรือไม่
  2. โครงสร้างของหลักสูตร  คือดูว่าโครงสร้างของหลักสูตรที่กำหนดไปนั้นเมื่อแตกออกไปเป็นโครงการเรียนในการปฏิบัตินั้นสอดคล้องกันดีหรือไม่  การจัดโครงการเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ต้องประเมินให้ถี่ถ้วนว่าโรงเรียนมีวิธีการอย่างไร  จัดด้วยเหตุผลอะไร  จัดได้สอดคล้องกับความคาดหวังของหลักสูตรหรือไม่  กุญแจที่สำคัญของการประเมินผลหลักสูตรอยู่ที่ว่า  โรงเรียนจัดอย่างไร  ด้วยเหตุผลอะไร  ทำไมจึงจัดได้  ทำไมจึงจัดไม่ได้  มีปัจจัยอะไรส่งผลให้เป็นเช่นนี้
  3. สาระสำคัญ  และเนื้อหาตามหลักสูตรที่ถ่ายทอดรายละเอียดเป็นสื่อการเรียน  รายวิชาต่างๆ ที่กำหนดไปแล้วนั้นเหมาะกับวัยของเด็กเพียงไร  ครูมีพื้นฐานความรู้ที่จะสอนได้ตามนั้นหรือไม่  หลายวิชาหลักสูตรอาจเขียนไว้ค่อนข้างหรู  แต่หาคนสอนไม่ได้  มันก็หยุดนิ่งอยู่อย่างนั้น ซึ่งไม่ใช่ความผิดของใคร  แต่เป็นความไม่พร้อมหลายๆ อย่างด้วยกัน เช่น ระบบการผลิตครู เนื้อหาสาระของหลักสูตรที่กำหนดเป็นรายวิชาต่างๆ ผู้ประเมินผลจะต้องใช้เวลามาก และต้องการความสัดทัดเฉพาะบุคคล
  4. วิธีสอนวิธีเรียน  เรื่องนี้แม้จะเป็นหน้าที่โดยตรงของระบบโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และกรมเจ้าสังกัด  แต่ก็สัมพันธ์กับหลักสูตรในแง่ที่ว่า  หลักสูตรใหม่แต่สอนวิธีเก่าก็ไม่มีความหมายอะไร  ตัวอย่างเช่น วิชาวิทยาศาสตร์  เป็นเรื่องที่คนเข้าถึงเหตุเข้าถึงผล  ไม่ให้เชื่ออะไรที่เลือนราง  การที่จะเข้าถึงสิ่งนั้นได้ต้องจับต้อง  ต้องพิสูจน์กันอย่างจริงจัง แต่ปรากฏว่าโรงเรียนหลายแห่งบอกว่ายากยังไม่พร้อม หรือสู้การสอนแบบท่องจำไม่ได้  ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วทัศนคติทางวิทยาศาสตร์จะไม่เกิดขึ้น 
  5. ระบบงานวิชาการของโรงเรียน ต้องดูว่าการวางโปรแกรมให้นักเรียนนั้นใครเป็นผู้วางรวมถึงการบันทึกวิชาการต่างๆ ลงไปในระเบียนของเด็ก  รายวิชาที่จัดนั้นผสมผสานกันดีไหม หรือไม่ประสานกันเลย  ระบบงานวิชาการเป็นหัวใจสำคัญที่จะส่งผลให้คณะครูที่สอนตามสายต่างๆ ทำงานประสานกันดี
  6. ครูอาจารย์ที่สอนตามหลักสูตรใหม่ได้หรือไม่  วิชาดนตรียังขาดครูสอน  วิชาชีพก็เช่นเดียวกัน  จึงไม่สามารถเปิดสอนได้
  7. สื่อการเรียน  หนังสือเรียน  คู่มือ  หนังสืออ่านประกอบ  หนังสืออ้างอิงมีหรือไม่  มีแล้วแต่ยังผิดพลาดหรือไม่  ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องสำรวจและพิจารณา
  8. การวัดผลทั้งหมดรวมทั้งการจัดระบบวัดผล  ต้องพิจารณาในเรื่องวัดผลนั้นว่าโรงเรียนทำถูกหรือผิดประการใด  โดยเอาระเบียบเป็นตัวยืนยันว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่ เมื่อระเบียบไม่เหมาะสมควรเอามาแก้ไขเปลี่ยนแปลง
  9. การจัดกิจกรรมในโรงเรียน  กิจกรรมเป็นส่วนสำคัญของระบบหลักสูตรเหมือนกัน ซึ่งไม่ได้กำหนดเป็นเนื้อหาวิชา แต่มีระเบียบกิจกรรม เช่น จะต้องเรียนลูกเสือ  โรงเรียนได้ทำกิจกรรมเหล่านี้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นหรือไม่  โรงเรียนจัดแนะแนวในลักษณะใด  สอดคล้องกับความจำเป็นหรือไม่
  10. แหล่งวิทยาการ  สถานประกอบการ  โรงเรียนเข้าใจเรื่องนี้จริงหรือไม่  เห็นทางปฏิบัติมากน้อยเพียงใด  เรื่องนี้ทางกระทรวงได้แก้ไขปรับปรุงระเบียบแล้วได้เผยแพร่ให้โรงเรียนเข้าใจสาระสำคัญหรือไม่

ข้อพึงระลึกในการประเมินผลหลักสูตร
  1. การประเมินผลหลักสูตรจะต้องกำหนดลงไปอย่างชัดเจนว่าจะประเมินอะไรให้แน่นอน
  2. การหาข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  สำหรับการประเมินผลหลักสูตร
  3. การรวบรวมข้อมูลมาเพื่อกำหนดเกณฑ์และกำหนดเครื่องมือในการประเมินจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
  4. การวิเคราะห์ผลการประเมินจะต้องกระทำอย่างระมัดระวังและมีความเที่ยงตรง  เพื่อที่จะนำผลการวิเคราะห์นั้นไปเสนอคณะกรรมการพิจารณา
  5. พิจารณาจากการประเมินผลหลักสูตร  เพื่อปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้เหมาะสมต่อไป



การประเมินหลักสูตร

การประเมินหลักสูตร

ความหมายของการประเมินหลักสูตร

การประเมินหลักสูตรหมายถึง กระบวนการการเก็บรวบรวมข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพทั้งประสิทธิภาพและประเมินผลของหลักสูตรรวมถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นในอนาคต แนวคิดการประเมินหลักสูตรประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ ดังนี้
  1.  การประเมินเป็นการประเมินค่าของเรื่องที่ตัดสินใจ
  2.  การตัดสินใจมีเกณฑ์ที่ชัดเจน
  3. เกณฑ์การตัดสินใจมีประเด็นที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับเนื้อหา
  4. เกณฑ์แสดงให้เห็นด้วยบุคคลและสอดคล้องกับแนวคิดของแบบจำลองเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ
จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร

ทาบา (Taba, 1962 : 310) ได้กล่าวไว้ว่า การประเมินหลักสูตรทำขึ้นเพื่อศึกษากระบวนการต่างๆ ที่กำหนดไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาการประเมินดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ จุดประสงค์ ขอบเขตของเนื้อหาสาระ คุณภาพของผู้ใช้บริหารและผู้ใช้หลักสูตร สมรรถภาพของผู้เรียน ความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ การใช้สื่อและวัสดุการสอน ฯลฯ

การประเมินหลักสูตร ก่อน ระหว่าง และหลังการนำหลักสูตรไปใช้

ขั้นตอนการประเมินหลักสูตร
จุดมุ่งหมายการประเมิน
การประเมินหลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้
การประเมินเอกสารและคุณค่าของหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร
การประเมินการนำไปใช้และผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรหลังนำหลักสูตรไปใช้
การประเมินระบบหลักสูตร

ขอบเขตในการประเมินหลักสูตร

เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1981 : 265) ได้กล่าวถึงขอบเขตของการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้
  1. การประเมินจุดมุ่งหมายของโรงเรียน จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายเฉพาะวิชาและจุดมุ่งหมายในการสอน
  2. การประเมินผลโครงการการศึกษาของโรงเรียนทั้งหมด
  3. การประเมินผลการเลือกเนื้อหาและการจัดประสบการณ์เรียนและกิจกรรม
  4. การประเมินผลการสอบ
  5.  การประเมินผลโครงการประเมินผล

หลักเกณฑ์การประเมินหลักสูตร

  1. มีจุดประสงค์ในการประเมินที่แน่นอน การประเมินผลหลักสูตรจะต้องกำหนดลงไปให้แน่นอนชัดเจนว่าประเมินอะไร
  2.  มีการวัดที่เชื่อถือได้ โดยมีเครื่องมือและเกณฑ์การวัดซึ่งเป็นที่ยอมรับ
  3. ข้อมูลเป็นจริงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประเมินผล ดังนั้น ข้อมูลจะต้องได้มาอย่างถูกต้องเชื่อถือได้และมากพอที่จะใช้เป็นตัวประเมินค่าหลักสูตรได้
  4. มีขอบเขตที่แน่นอนชัดเจนว่าเราต้องการประเมินในเรื่องใดแค่ไหน
  5. ประเด็นของเรื่องที่จะประเมินอยู่ในช่วงเวลาของความสนใจ
  6. การรวบรวมข้อมูลมาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ และกำหนดเครื่องมือในการประเมินผล จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
  7. การวิเคราะห์ผลการประเมินต้องทำอย่างระมัดระวังรอบคอบ และให้มีความเที่ยงตรงในการพิจารณา
  8. การประเมินผลหลักสูตรควรใช้วิธีการหลายๆวิธี
  9. มีเอกภาพในการตัดสินผลการประเมิน
  10. ผลต่างๆที่ได้จากการประเมินควรนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรทั้งในด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ดีและมีคุณค่าสูงสุดตามที่ต้องการ

บทสรุป
            การประเมินผลหลักสูตร  เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นยิ่ง  เพราะจะได้รู้ถึงคุณค่าของหลักสูตร  ตัดสินว่าคุณภาพของหลักสูตรมีคุณภาพดีเพียงใด  ผลิตผลของหลักสูตร คือ ผู้เรียนเมื่อจบออกไปแล้วเป็นอย่างไร  การประเมินผลหลักสูตรนั้น ประเมินตั้งแต่ก่อนนำหลักสูตรไปใช้  ขณะที่ทดลองใช้  และเมื่อประกาศใช้แล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลจะทำให้การประเมินผลหลักสูตร  เป็นระบบ  ระเบียบ และเป็นแนวทางวิทยาศาสตร์  ประเมินได้ตามจุดที่ต้องการ  และการประเมินผลหลักสูตรควรจะประเมินผลทั้งหมดของหลักสูตร เช่น จุดมุ่งหมาย เนื้อหา  การเรียน  การสอน  สื่อการเรียนการสอน กิจกรรม  การวัดผล  เป็นต้น  การประเมินผลจะส่งผลไปยังผู้มีอำนาจในการตัดสินว่า  หลักสูตรนั้นสมควรที่จะแก้ไขปรับปรุงเพียงใด  มีปัญหาอะไรบ้างในการใช้หลักสูตรนั้น จะได้ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้หลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรที่ดี และสนองความต้องการต่างๆ ของผู้เรียน  สังคม  เศรษฐกิจ  การปกครอง  จิตวิทยาการเรียนรู้ การประเมินผลหลักสูตรควรจะดำเนินการและกระทำอยู่สม่ำเสมอ  เพื่อการปรับปรุง  พัฒนา  หลักสูตร ให้มีคุณภาพดีที่สุด

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปัญหาการนำหลักสูตรไปใช้

ปัญหาการนำหลักสูตรไปใช้

ปัญหาด้านครู


  1. ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร และขาดหลักสูตรกับเอกสารประกอบหลักสูตร เช่น คู่มือการใช้หลักสูตร ฯลฯ ซึ่งทำให้การสอนของครูไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
  2. ครูไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร ยังคงยึดถือวิธีสอนแบบ ยึดตัวครูเป็นศูนย์กลางในการสอน
  3. ครูไม่มีเวลาศึกษาหลักสูตรก่อนสอน

ปัญหาด้านผู้บริหารโรงเรียน


  1. ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรน้อย ทำให้ไม่สามารถสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีเท่าที่ควร
  2. ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถในการนิเทศและการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรแก่ครู และ/หรือนิเทศน้อยไม่ทั่วถึงและไม่ต่อเนื่อง
  3. ผู้บริหารไม่ได้ให้การสนับสนุนการใช้หลักสูตรของคณะครู เช่น การจัดหาเอกสารประกอบหลักสูตรประเภทต่าง ๆ และการจัดหาจัดทำวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนให้เพียงพอกับความต้องการของครู การจัดครูเข้าสอนไม่เหมาะสม การไม่ได้สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน เป็นต้น

ปัญหาด้านศึกษานิเทศก์

          ศึกษานิเทศก์นิเทศการใช้หลักสูตรในโรงเรียนต่าง ๆ ไม่ทั่วถึง ศึกษานิเทศก์ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างถ่องแท้ และไม่มีความรู้ความสามารถในการนิเทศและให้คำแนะนำแก่ครูที่ดีเท่าที่ควร

ปัญหาด้านหน่วยงานส่วนกลาง ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ


  1. ส่งเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบล่าช้า และไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงเรียน
  2. ขาดการประชาสัมพันธ์หลักสูตร โดยเฉพาะกับผู้ปกครองทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
  3. ขาดงบประมาณที่จะสนับสนุนการใช้หลักสูตร
  4. การฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้แก่ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องยังไม่ทั่วถึง และ/หรือไม่ตรงกับความต้องการของครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 


การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation)


การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร เพราะเป็นการนำอุดมการณ์ จุดหมายของหลักสูตร  เนื้อหาวิชา และประสบการณ์การเรียนรู้ที่กลั่นกรองอย่างดีแล้วไปสู่ผู้เรียน  ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้ มีความสำคัญยิ่งกว่าขั้นตอนตอนใดๆทั้งหมด  เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตร ถึงแม้หลักสูตรจะสร้างไว้ดีเพียงใดก็ตาม  ยังไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ ถ้าหากว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดำเนินไปอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ดีเพียงพอ  ความล้มเหลวของหลักสูตรก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้ จึงมีความสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรไปใช้ จะต้องทำความเข้าใจกับวิธีการขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดตามความมุ่งหมายทุกประการ

ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้

การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นตอนที่นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ ความหมายของคำว่า การนำหลักสูตรไปใช้มีแตกต่างกันออกไป  นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมาย      คำนิยามของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้

โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164)   ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า  การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึง  การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ  โดยการะบวนการที่สำคัญที่สุด คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน   การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
สันติ    ธรรมบำรุง (2527.120)  กล่าวว่า  การนำหลักหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล  รวมถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สงัด      อุทรานันท์ (2535.260)  ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ว่า เป็นขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนในห้องเรียน  ได้แก่การจัดเอกสารประกอบหลักสูตร  การเตรียมบุคลากร  การบริหารและบริการหลักสูตร  และการนิเทศการใช้หลักสูตร
ธำรง บัวศรี (2504.165) กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึงกระบวนการเรียนการสอนสำหรับสอนเป็นประจำทุกๆวัน

จากความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ ตามที่นักการศึกษาได้ให้ไว้ข้างต้น  พอสรุปได้ว่า  การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึง การดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นดำเนินไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นับแต่การเตรียมบุคลากร อาคาร สถานที่  วัสดุอุปกรณ์  สภาพแวดล้อม  และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน

แนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้

ถ้าเรายอมรับว่าการนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้หลักสูตรเกิดผลต่อการใช้อย่างแท้จริงแล้ว การนำหลักสูตรไปใช้ก็ควรจะเป็นวิธีการปฏิบัติการที่มีหลักเกณฑ์ และมีกระบวนการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ พอที่จะมั่นใจได้ว่า  หลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นนั้น จะมีโอกาสนำไปปฏิบัติจริงๆอย่างแน่นอน  นักการศึกษาต่างก็ให้ทัศนะซึ่งเป็นแนวคิดในการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้

โบแชมป์ (Beauchamp,1975.164-169)  กล่าวว่า  สิ่งแรกที่ควรทำคือ  การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน  ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน  โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน   สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้เห็นผลตามเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร ผู้บริหาร ครูใหญ่ต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จ
ธำรง บัวศรี (2504.165-195)  ได้สรุปชี้ให้เห็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการนำหลักสูตรไปใช้ไว้ว่า ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
โครงการสอน  เช่น  การวางโครงการสอนแบบหน่วย( Unit Organization of Instruction, Teaching Unit)  ประเภทของหน่วยการสอนมี 2 ประเภท คือ หน่วยรายวิชา (Subject Matter Unit) และหน่วยประสบการณ์  (Experience Unit)หน่วยวิทยาการ (Resource Unit) เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ครู  เช่นเอกสารคู่มือ  และแนวการปฏิบัติต่างๆ
องค์ประกอบอื่นๆ ที่ช่วยในการสอน  เช่นสถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้  อุปกรณ์การเรียนการสอน  วิธีการสอน และวัดผลการศึกษา  กิจกรรมร่วมหลักสูตร  การแนะแนวและการจัดและบริหารโรงเรียน  เป็นต้น

การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย  ตั้งแต่ผู้บริหารระดับกระทรวง  กรม  กอง  ผู้บริหารระดับโรงเรียน   ครูผู้สอน  ศึกษานิเทศก์ และบุคคลอื่นๆขอบเขตและงานของการนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างรอบคอบและระมัดระวัง

หลักการที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
หลักการสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ได้ดังนี้
  1. มีการวางแผนและเตรียมการในการนำหลักสูตรไปใช้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรจะได้ศึกษาวิเคราะห์  ทำความเข้าใจหลักสูตรที่จะนำไปใช้ให้มีความเข้าใจตรงกันเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทำนองเดียวกันและสอดคล้องต่อเนื่องกัน
  2. มีคณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่จะต้องทำหน้าที่ประสานงานกันเป็นอย่างดี ในแต่ละขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้ 
  3. ดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นไปตามขั้นตอนที่วางแผนและเตรียมการไว้การนำหลักสูตรไปใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสบความสำเร็จได้ ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์  เอกสารหลักสูตรต่าง  ตลอดจนสถานที่ต่างๆ ที่จะเป็นแหล่งให้ความรู้ประสบการณ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการจัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนได้เมื่อได้รับการร้องข
  4. ครูเป็นบุคลากรที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ ดังนั้นครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง ตั้งแต่การอบรมความรู้  ความเข้าใจทักษะและเจตคติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรอย่างเข้มข้น 
  5. การนำหลักสูตรไปใช้ควรจัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้ชำนาญการพิเศษ  เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครูโดยการทำหน้าที่นิเทศ ติดตามผลการนำหลักสูตรไปใช้ และควรปฏิบัติงานร่วมกับครูอย่างใกล้ชิด
  6.  หน่วยงานและบุคลากรในฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่และเต็มความ สามารถ
  7. การนำหลักสูตรไปใช้สำหรับผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องทุกฝ่าย  ทุกหน่วยงาน จะต้องมีติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ  เพื่อจะได้นำข้อมูลต่างๆ มาประเมินวิเคราะห์  เพื่อพัฒนาทั้งในแง่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และการวางแนวทางในการนำหลักสูตรไปใช้  ให้มีประสิทธิภาพ ดียิ่งขึ้น

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
  1. การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน  คือ  การตีความหมายและกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรโดยจะดำเนินการในรูปของเอกสารประกอบหลักสูตร และวัสดุอุปกรณ์การสอน เช่นโครงการสอน ประมวลการสอน คู่มือครูเป็นต้น
  2. การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆภายในโรงเรียนเพื่อให้หลักสูตรบรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารโรงเรียนควรสำรวจปัจจัยและสภาพต่างๆของโรงเรียนว่า  เหมาะสมกับสภาพการนำหลักสูตรมาปฏิบัติหรือไม่
  3.  การสอนซึ่งเป็นหน้าที่ของครูประจำการถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการนำหลักสูตรไปใช้ ครูต้องสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เลือกวิธีสอนให้เหมาะสม โดยผู้บริหารคอยให้ความสะดวกให้คำแนะนำและให้กำลังใจ

หน้าที่ของผู้บริหารและผู้สอนในการใช้หลักสูตร

                ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรในโรงเรียนมีหลายกลุ่ม แต่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงและจะส่งผลต่อการจะทำให้บรรลุจุดหมายของหลักสูตรหรือไม่มี 2 กลุ่ม คือผู้บริหารและผู้สอน หน้าที่ที่สำคัญของผู้บริหารและผู้สอนในการใช้หลักสูตรมีดังนี้

ผู้บริหาร
ผู้สอน
1. เป็นผู้นำในการใช้หลักสูตรและการเปลี่ยนแปลงการแก้ไขหลักสูตร
2.  ศึกษาและทำความเข้าใจในหลักสูตรอย่างกระจ่าง สามารถควบคุมดูแลและให้คำแนะนำแก่ผู้สอนให้ดำเนินการจนบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

3.  กำหนดมาตรการและแนวปฏิบัติในการใช้หลักสูตร
4.  จัดหาวัสดุหลักสูตรที่ทันสมัยและให้มีจำนวนเพียงพอต่อจำนวนผู้สอน
5.  ควบคุมดูแลติดตามผลการใช้หลักสูตรสนับสนุนส่งเสริมและนิเทศการใช้หลักสูตรและการสอน ให้กำลังใจ และช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
6.  ประเมินผลการใช้หลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรสำหรับโรงเรียนของตน
1.  ใช้หลักสูตรตามที่ได้รับมอบหมาย

2.  ศึกษาและทำความเข้าใจองค์ประกอบของหลักสูตรทุกส่วน รวมทั้งวัตถุประสงค์ของกลุ่มวิชา จุดประสงค์รายวิชาและคำอธิบายรายวิชา และจัดการเรียนการสอนที่ได้รับมอบหมายได้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3.  ปฏิบัติตามแนวทางที่โรงเรียนกำหนด

4.  ใช้วัสดุหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ

5.  วิเคราะห์หลักสูตร แปลและตีความหลักสูตรสู่แนวปฏิบัติและเลือกใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสม

6.  ประเมินผลการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่การประเมินผล การใช้หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร